วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเภทของยาเสพติด

ประเภทของยาเสพติด

๑. ประเภทของยาเสพติด
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
          ๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
          ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
          ๓. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต
          ๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

๒. แบ่งตามแหล่งที่มา
          แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชา เป็นต้น
          ๒. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน  ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น

๓. แบ่งตามกฎหมาย
          แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น



. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
          ๑. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้
จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจ
ประมาท  ไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก  จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น  หรือ  ถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น  เฮโรอีน
แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
          ๒. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน  ในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง  เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และ
ให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
          ๓. การชักชวนของคนอื่น  อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา  ของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น
ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา  ทำให้มีจิตใจแจ่มใส  ทำให้มีสุขภาพดี  ทำให้มีสติปัญญาดี  สามารถรักษาโรคได้บางชนิด  เป็นต้น  ผู้ที่เชื่อคำ
ชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน
หรือ เชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น

๒. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
          ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว  รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร  ขนม  หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น   กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิด
สังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

๓. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย
          ๑. คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่าง  เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่
เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือ  เป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น
          ๒. ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น  มีความวิตก  กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์  จิตใจก็จะกลับเครียดอีก  และ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้
ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด
          ๓. การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริงขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

๔.สาเหตุอื่นๆ
          การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป
          เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
          . คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่าง   เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด  ช่วยผ่อนคลายความรู้สึก  ในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยาม
ก็ตาม  เช่น  กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น  โดยพยายามทำงานให้หนัก และ มากขึ้นทั้ง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้
          ๒.การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อน จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด
          ๓. คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม

ลักษณะการติดยาเสพติด 
          ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ยาเสพติดบางชนิด ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจ
เพียงอย่างเดียว

          ลักษณะทั่วไป
          ๑. ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ)
          ๒. เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
          ๓. บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
          ๔. ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
          ๕. ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
          ๖. มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ชีวิตจะสุขสันต์ตลอดกาล
          ๗. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยานั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ
          ๘. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสิ่งเสพย์ติดให้มากขึ้นทุกขณะ
          ๙. ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการขาดยาหรืออย่ากยาโดยแสดงออกมา ในลักษณะอาการต่างๆ                เช่น หาว อาเจียน น้ำมูกน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว ฯลฯ
          ๑๐.สิ่งเสพย์ติดนั้นหากเสพอยู่เสมอๆ และเป็นเวลานานจะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ        
          ๑๑. ทำให้ร่างกายซูบผอมมีโรคแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการทางโรคประสาทและจิตไม่ปกติ

          การติดยาทางกาย
          เป็นการติดยาเสพติดที่ผู้เสพมีความต้องการเสพอย่างรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพ
จะเกิดอาการผิดปกติอย่างมาก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเรียกว่า "อาการขาดยา" เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เมื่อขาดยา
จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูกน้ำตาไหล นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น

          การติดยาทางใจ
          เป็นการติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย หากไม่ได้เสพร่างกายก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือ ทุรนทุรายแต่อย่างใด จะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการหงุดหงิดหรือกระวนกระวายใจเท่านั้น


การป้องกันการติดยาเสพติด
         ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะ
ติดง่ายหายยาก
         ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้อง
คอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด   หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัว จงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
ให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
         ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
         ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้ง
เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 ,
0-252-5932   และ  ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)   สำนักนายกรัฐมนตรี
โทร. 2459350-9

          ยาเสพติดป้องกันได้

          ๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
                • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
                • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
                • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
                • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
                • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่

          ๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
               • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
               • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
               • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
               • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด

          ๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
                • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
                • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่...
                • สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526
                • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688






















ยาบ้า เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์มีแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบ มีชื่อเรียก เช่น ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2441
เนื้อหา
[แก้] ลักษณะทางกายภาพ
ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ เช่น รูปหัวม้าและอักษร LONDON มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ , ฬ99 , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้าน รูปร่างของยาบ้าอาจพบในลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ กลมแบน รูปเหลี่ยมรูปหัวใจ หรือแคปซูล
ยาบ้า เป็นยากลุ่มแอมเฟทตามีน(Amphetamines) ซึ่งมีหลายตัว เช่น Dextroamphetamine, Methamphetamine เรียกกันแต่เดิมว่า ยาม้า ยานี้เคยใช้เป็นยารักษาโรคอยู่บ้างในอดีต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคผลอยหลับโดยไม่รู้ตัว (Narcolepsy) เด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ขาดความตั้งใจและสมาธิในการเรียน (Attention Deficit Disorder) และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
[แก้] ประวัติ
ยาบ้ามีประวัติที่มายาวนาน โดยสังเคราะห์ได้กว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองใช้กระตุ้นความกล้าหาญและความ อดทนของทหารทั้งสองฝ่าย โดยประมาณกันว่ามีการใช้ยาบ้ากว่า 72 ล้านเม็ดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามการใช้ยาบ้าจึงเริ่มแพร่ขยายออกไปสู่สังคม สาเหตุที่เคยเรียกว่า ยาม้า สันนิษฐานได้หลายแง่ บ้างว่าคงมาจากการที่เคยนำไปใช้กระตุ้นม้าแข่งให้วิ่งเร็ว และอดทน บ้างว่าเนื่องจากทำให้ผู้ใช้ยาคึกคะนอง เหมือนม้า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาเรียกเป็นยาบ้า ก็เพื่อจะเน้นความเป็นพิษของยา ซึ่งเมื่อใช้มากเกินขนาดหรือใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำ ให้ผู้ใช้ยามีลักษณะเหมือนคนบ้าและเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์สารนี้ไม่ ซับซ้อน ปัจจุบันจึงมีการลักลอบสังเคราะห์ กันอยู่ในประเทศไทย
ในระยะแรก ยาบ้ามีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า ยาขยัน เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเรียนที่ต้องดูหนังสือสอบดึกๆ ต่อมาเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน คนขับรถบรรทุก มีชื่อเรียกว่า ยาม้า เหตุที่ได้ชื่อนี้มาจากเครื่องหมายการค้าของบริษัท Wellcome ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ส่งยาชนิดนี้มาขายในประเทศไทย
ในสมัยหนึ่งนักเคมี ทดลองสังเคราะห์ สารที่มีโครงสร้างคล้ายยาบ้ามากมายหลายตัว โดยหวังว่าคงจะมีสักตัวที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่กลับปรากฏว่าสารเหล่านั้น มักไม่มีประโยชน์แต่กลับมีผลเสียต่อจิตอารมณ์แทบทุกตัว สารอนุพันธุ์เหล่านี้ปัจจุบันมีการ ลักลอบสังเคราะห์กันในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และเรียกกันรวมๆ ว่า Designer Drugs ซึ่งหมายถึงสารที่พยายามดัดแปลงสูตรโครงสร้าง ทางเคมีจากสารเดิม ที่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อใช้ทดแทนสารเดิมและหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย
ยาบ้ามีสารประกอบหลักในกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamine) ซึ่งเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (Edeleno) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แอมเฟตามีน และยาบ้าที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ก็มีสารประกอบหลักเป็นเมทแอมเฟตามีนนี้เอง
ปัจจุบัน มีชื่อเรียกว่า ยาบ้า ตามข้อเสนอของนายเสนาะ เทียนทอง ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งให้นโยบายว่า ชื่อยาม้า ทำให้ผู้เสพเข้าใจว่า เป็นยาที่กินแล้วให้กำลังวังชา มีเรี่ยวแรง คึกคักเหมือนม้า ควรจะเปลี่ยนไปเรียกว่า ยาบ้า เพื่อให้ผู้เสพตระหนักถึงโทษของยาที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถควบคุมสติได้ เกิดความรังเกียจ ทำให้ไม่อยากเสพ และจะช่วยลดจำนวนผู้เสพยาได้ [1] และเปลี่ยนประเภทจากสิ่งเสพติดประเภท 3 ซึ่งจำหน่ายได้ในร้านขายยา เป็นสิ่งเสพติดประเภท 1 ซึ่งห้ามจำหน่าย และมีบทลงโทษต่อผู้ขายรุนแรง เพื่อให้ผู้ขายกลัวต่อบทลงโทษ แต่กลับทำให้ยาบ้ามีราคาจำหน่ายสูงขึ้น จนสร้างผลกำไรต่อผู้ขายเป็นอย่างมาก และมีผู้ผลิตและจำหน่ายมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมให้เสพติดง่ายขึ้น มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น จนกลายเป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน แถบชายแดนไทยกัมพูชาจะรับซื้อยาบ้าจากทางว้าแดงส่งผ่านมาทางประเทศลาวแล้วนำยาบ้ามาบดแล้วผสมกับแป้งทำยา (Drug Powder) แล้วนำมาอัดขึ้นรูปใหม่เพื่อให้มีจำนวนเม็ดยาเพิ่มขึ้น ตัวสารเสพติดต่อเม็ดจะลดลงเพื่อเพิ่มกำไร
[แก้] การขนส่ง
ในประเทศผู้ผลิต (กลุ่มว้าแดง) จะห้ามประชาชนของเขาเสพยาเสพติดที่เขาผลิตโดยเด็ดขาด ถ้าทางผู้ผลิตทราบจะลงโทษสถานหนักถึงขั้นยิงทิ้งเลยทีเดียว การขนส่งยาเสพติดจากประเทศผู้ผลิตจะส่งกัน 2 ทางคือ
1.           ทางบก โดยผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่หลังสัตว์ (ลา) หรือให้คนงานใส่เป้พร้อมอาวุธบรรทุกมาตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทย หรืออ้อมสามเหลี่ยมทองคำผ่านเข้าประเทศลาวสู่ประเทศไทย หรือผ่านลาวลงมากัมพูชาเข้าประเทศไทย
2.           ทางน้ำ ผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่เรือประมงทางฝั่งทะเลอันดามาลงมาทางใต้ของไทย
[แก้] การออกฤทธิ์
ยาบ้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้
[แก้] โทษทางกฎหมาย
ข้อหา
บทลงโทษ
ผลิต นำเข้า หรือส่งออก
ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หากเป็นการกระทำเพื่อ
จำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ( กรณีคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อ จำหน่าย)
จำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่าย
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิตและ
ปรับตั้งแต่ 5 หมื่นบาทถึง 5 แสนบาท หากมีสารบริสุทธิ์ ไม่เกิน 100 กรัม แต่ถ้าเกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก ตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
ครอบครอง
คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี และปรับ 1 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท (คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย)
เสพ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับ
ตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท แต่ปัจจุบันนี้ ผู้เสพจะได้รับการบำบัดจาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เป็นเวลา 3 เดือน
ใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายฯให้ผู้อื่นเสพ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก 4 ปี ถึง 30 ปี และปรับตั้งแต่ 4 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 5 หมื่นบาท
[แก้] การสังเกตผู้ติดยา
วิธีการสังเกตผู้ติดยาแบบทั่วๆไป ประเภทนี้มีหลายวิธี โดยเริ่มต้นจากพฤติกรรมทั่วๆไปเช่น การไม่พักผ่อน นอนดึกเป็นนิสัยแต่ตื่นตอนเช้าตรู่ ไม่ค่อยออกสังคม มีโลกส่วนตัวสูง ชอบอยู่ในสถานที่มิดชิด ปิดห้องนั่งเล่นเกมส์คนเดียว สูบบุหรี่จัด หรือชอบงัดแงะเครื่องจักรกลออกมาทำความสะอาดหรือซ่อมแซม กัดฟันกรามหรือเอามือม้วนที่ปลายผม หรือบีบสิว แต่งหน้าแต่งตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ เวลาเรียกทานข้าวมักจะไม่มาทานด้วยเพราะยาชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เสพไม่หิวข้าว
ให้สังเกตตามซอกตู้ลิ้นชักว่ามีอุปกรณ์การเสพซ่อนอยู่หรือไม่ เช่นหลอด เวลาซักผ้าให้ตรวจดูในกระเป๋าเพื่อดูว่ามีเศษฟรอยซองบุหรี่หรือไม่ (มีลักษณะเป็นกระดาษอะลูมิเนียมบางของซองบุหรี่)
ถ้าบ้านท่านมีแผ่นฝ้าเพดานชนิดเปิดได้ให้สังเกตว่าฝ้าเพดานที่บ้านท่านปิดสนิทดีหรือไม่ เพราะผู้เสพยามักนิยมนำอุปกรณ์การเสพไปซ่อนไว้ที่นั่น ถ้าสงสัยให้เปิดดู ส่วนใหญ่ถ้าแผ่นฝ้าเพดานหากถูกเปิดบ่อยมักจะไม่สนิท รอยมือดำๆติดอยู่ที่แผ่นฝ้าเพดาน
ให้สังเกตกลุ่มเพื่อนที่มาหา เด็กกลุ่มติดยามักร่วมทำกิจกรรมที่ดูเป็นมิตรเสมอ เช่นซ้อมดนตรี วาดภาพ เปิดติว แต่ความจริงแล้วพวกเขาหาโอกาสมารวมตัวกันเสพยา ให้สังเกตว่ากิจกรรมที่เขาทำอยู่นั้นเนิ่นนานกว่าปกติหรือไม่เช่น ซ้อมดนตรีต่อวันๆ ละ 10 ชั่วโมง เล่นเกมส์กันนานหลายชั่วโมง ไม่กินข้าวกินปลา ถือว่าไม่ปกติ
ถังขยะคือแหล่งข้อมูลที่สำคัญของผู้เสพ ให้สังเกตตามถังขยะหน้าบ้านเวลาบุตรหลานท่านไปทิ้งขยะ (มักทิ้งเวลาเช้าตรู่) ผู้เสพจะนำอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นไปทิ้งหรือทิ้งลงโถส้วม
สังเกตผู้ติดยาทางกายภาพของผู้เสพ ให้สังเกตว่าคนติดยาบ้าจะมีหน้าตาที่เรียวเล็ก แขนและขาผ่อมรีบ ใบหน้าดำคล้ำ ขอบตาจะดำ เส้นผมแข็งหรือผมล่วง ร่างกายจะผอมผิดปกติ ไม่ชอบอยู่เฉยๆ มีกลิ่นตัวแรง ลมหายใจจะเหม็น ถ้าไม่แน่ใจว่าบุตรหลานของท่านติดยาหรือไม่ให้ท่านไม่จำเป็นต้องตรวจด้วยยา ให้ใช้วิธีการให้คนๆนั้นยื่นมือยื่นแขนทั้งสองแขนเหยียดตรงมาข้างหน้า แล้วกางมือให้ตั้งฉากกับแขนแล้วกางนิ้วออก หากมีการสั่นผิดปกติ มีแนวโน้มว่าผู้นั้นใช้ยาเสพติด
[แก้] การบำบัดผู้ติดยาบ้า
การบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้าไม่ใช่การทำให้ร่างกายปลอดจากยาเสพติด แต่เป็นการบำบัดรักษาความผิดปกติของร่างกายจากผลของยาเสพติด คือ ความผิดปกติของระบบประสาท (คือผู้เสพจะรู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวและมีความต้องการทำในสิ่งที่คิดหรือสิ่งที่ถูกสั่งจากสมอง ) โดยเฉพาะสมองส่วนกลาง (Central nervous system) และสารสื่อเคมีสมอง (Neurotransmitter) สมองของผู้ติดยาเสพติดต้องการฤทธิ์ของยาเสพติดที่จะกระตุ้นให้ระบบสมองทำงานอย่างปกติ หากช่วงใดขาดยาเสพติดไปกระตุ้นก็จะเกิดอาการผิดปกติขึ้น
อาการผิดปกติของร่างกายที่เห็นทันทีที่หยุดยาบ้า คือ อาการถอนพิษยา ซึ่งจะมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระวนกระวาย อ่อนเพลียและมีความรู้สึกจิตใจหดหู่ บางรายมีอาการถึงขนาดอยากฆ่าตัวตาย ในระยะนี้ ผู้ติดยาบ้าจะอยากนอนและนอนเป็นเวลานานในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก
ต่อจากอาการถอนพิษยา ผู้ติดยาบ้าจะมีอาการอยากยามาก ในช่วงนี้ผู้ติดยาเสพติดจะมีความ รู้สึกไม่เป็นสุข ไม่มีกำลังทั้งทางร่างกายและจิตใจ อยากที่จะใช้ยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้เกิดความกระชุ่มกระชวยกลับมาใหม่
การบำบัดรักษายาบ้าในช่วงแรก เป็นการบำบัดรักษาเพื่อลดอาการถอนพิษยาจึงเป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดความเครียด อาการซึมเศร้าหรืออาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหวาดระแวง เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถประคับประคองตนเองผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ หลังจากหยุดยาบ้าประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการถอนพิษยาและอาการอยากยาจะลดน้อยลง
แม้ว่าผู้ติดยาบ้าที่ผ่านการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยาแล้ว จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ความผิดปกติของระบบสมอง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้แก้ไข จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน ฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อไป เพื่อให้ผู้ติดยาบ้าหายขาดไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีก
การที่ต้องผ่านขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูให้สมองของผู้ติดยาเสพติดกลับมาเป็นสมองของคนปกติ เนื่องจากระบบประสาทของคนติดยาต้องการเสพติดเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้มีสารเคมีสมองพอเพียงที่จะทำให้เกิดความสุขไม่วิตกกังวล หากขาดการกระตุ้นจากยาเสพติด สมองของผู้ติดยาเสพติดจะมีปฏิกิริยาตรงกันข้าม คือผู้ติดยาจะหงุดหงิดไม่เป็นสุข มีความเครียด วิตกกังวลและมีความอยากที่จะกลับไปเสพ ยาเสพติดอีก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรให้ส่วนต่างของสมองได้ปรับตัวกลับเป็นปกติในช่วงที่ระบบสมองปรับตัวเป็นปกติ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีก
นอกจากระบบสมองแล้ว พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของผู้ติดยาต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพมีหลายวิธี การที่จะช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด เช่น การเข้าค่ายฟื้นฟูฯ การให้ คำปรึกษา การทำจิตบำบัด และชุมชนบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าใจถึงปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด ปรับสภาพครอบครัวให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและช่วยกันดูแลประคับประคองผู้ติดยาเสพติด ปรับสภาพกลุ่มเพื่อนให้ห่างไกลจากเพื่อนที่จะมาชักชวนให้เสพยาเสพติด สร้างความมั่นคงทางจิตใจผ่านทางผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มที่เลิกยาแล้ว ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่หวนกลับไปเสพยาอีก
[แก้] ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์
ในทางการแพทย์ยาชนิดนี้มีชื่อทางการค้าว่า Desoxyn® ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท OVATION Pharmaceuticals จำกัด (โอเวชั่น ฟาร์มาซูติคอล) มีขนาดตั้งแต่ 5 mg, 10 mg, และ 15 mg หนึ่งกล่องบรรจุร้อยเม็ด ใช้บำบัดโรคซึมเศร้า โรคที่เกี่ยวกับระบบทางหายใจ ภูมิแพ้ ลดความอ้วน
ราคายา Desoxyn ต่อหน่วยประมาณ (แบบถูกกฎหมาย) (หน่วยเงิน US$ ยูเอสดอลล่า)
  • ขนาด 5 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $306
  • ขนาด 10 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $408
  • ขนาด 15 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $520
ราคายาบ้าต่อหน่วย/เม็ด ในประเทศไทยสถิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000-2011 (หน่วยเงินเป็นบาท) (ราคาขายปลีก)
ปี
ราคาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
ราคาในจังหวัดชายแดนใกล้แหล่งผลิต
ราคาในต่างจังหวัด
2001-2002
60-70
35-40
120-150
2003-2005
100-150
60-80
150-200
2005-2006
200-250
100-120
250-300
2006-2008
250-350
200-250
250-400
2009-2010
210-270
100-150
250-300
2011
150-180
100-120
250-500
[แก้] เกร็ด
  • สีของยาบ้าจะบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น แหล่งผลิต ความเข้มข้นของตัวยา สีที่พบบ่อย ได้แก่
1. สีส้ม คือสีส่วนใหญ่ของยาบ้า แหล่งผลิตตามแนวชายแดนประเทศไทย หรือในประเทศเทศไทยเอง ถือว่าเป็นสีมาตรฐานของยาบ้า 2. สีเหลืองดอกคูณ เป็นยาบ้าที่มีตัวสารเสพติดสูงกว่าแบบสีส้ม แหล่งที่มา ประเทศพม่า 3. สีช็อกโกแลต เอกลักษณ์คือกลิ่นจะหอมเหมือนช็อกโกแลต ทำให้ผู้เสพใหม่ๆติดใจในกลิ่น เพราะเสพง่าย บางครั้งมีรสหวานติดมากับควันด้วย 4. สีกะปิ เป็นยาบ้าโบราณ เกิดเมื่อสมัยยาบ้าระบาดแรกๆ มักจะมีอักษรปั๊มว่า ฬ99 สีนี้ผลิตในเมืองไทยสมัยยังไม่ผิดกฎหมาย 5. สีม่วง ยาบ้าสีนี้ไม่ทราบที่มา แต่จะระบาดในช่วงปี ค.ศ. 1997-1999 เป็นสีที่หายากมากเพราะผลิตออกมาน้อย 6. สีเขียว สีเขียวเป็นยาบ้าชนิดพิเศษ จะมีตัวสารเสพติดแรงกว่ายาบ้าสีอื่นๆถึง 5 เท่า จะใส่มาในถุง 1 ถุงจะมียาบ้าสีเขียวจำนวนเพียง 2 เม็ดเท่านั้น (1 ถุงมี 200 เม็ด) ส่วนอีก 198 เม็ดจะเป็นสีส้ม บางความเชื่อของผู้เสพรวมทั้งผู้ขายเชื่อว่ายาบ้าสีเขียวคือสารดูดความชื้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทางผู้ผลิตทำขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าใน 1 ถุงมีจำนวนยาเท่าใด (ยาบ้าสีเขียว 1 เม็ด แสดงว่ามียาบ้าสีส้ม 99 เม็ด) 7. สีแดงอิฐ มีลักษณะสีเหมือนอิฐมอญ มีสารเสพติดค่อนข้างสูง 8. สีชมพู ยาบ้าชนิดนี้เป็นยาบ้าที่คุณภาพต่ำที่สุด ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เสพ และราคาถูก 9. สีขาว เป็นยาบ้ารุ่นแรกสุดของสมัยที่เรียกว่ายาม้า
  • ถุงที่ใส่ยาบ้า จะเป็นลักษณะเหมือนซองยาสีน้ำเงิน เพราะทางผู้ผลิตต้องการให้สีของถุงบรรจุกลบสีของยาบ้า ถุงประเภทนี้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาด คาดว่าผู้ผลิตผลิตหรือสั่งผลิตขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ เล็กกว่าถุงใส่ปกติทั่วไป
ยาบ้า 1 ถุงมี 200 เม็ด (ภาษานักค้ายาเรียกว่า 1 คอก) ใน 200 เม็ด จะมีเม็ดสีเขียว 2 เม็ด เป็นตัวคั่น ยาบ้า 10 ถุงเรียกว่า 1 มัด (2000 เม็ด) จะมีลักษณะเป็นมัดพันด้วยกระดาษสีน้ำตาลแล้วห่อด้วยสก็อตเทปใสเพื่อป้องกันน้ำเข้า ยาบ้า 1 แถว มี 10 เม็ด นักค้ายาจะแพ็คใส่หลอดกาแฟพลาสติกเป็นแท่ง ๆ ละ 10 เม็ด ยาบ้า 1 ขา มี 1 ส่วน 4 เม็ด หมายความว่า 1 เม็ดแบ่งเป็นสี่ส่วน
  • อักษรบนตัวยาบ้า อักษรบนตัวยาบ้ามีหลายชนิดมีที่มาต่างกัน เช่น
ถ้าเป็นตัวภาษาอังกฤษหรือรูปภาพต่างๆ ยาบ้าชนิดนี้จะผลิตในต่างประเทศ ในสมัยก่อนยาบ้าหรือยาขยันนี้ยังไม่ผิดกฎหมาย นักเคมีบางกลุ่มได้สูตรการผลิตมาจากยุโรปจึงนำมาสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง โดยพิมพ์อักษรลงไปบนเม็ดยาว่า 99, 99, ฬ สามแบบที่ว่านี้ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย (ไทยผลิตก่อนว้าแดง) ต่อมาทางการเริ่มยกระดับเป็นยาเสพติด อักษรไทยต่างๆ เหล่านี้จึงหายไปจากวงการค้ายาเสพติด
อักษร WY อักษรนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อที่ชนกลุ่มน้อย (ว้าแดง) นำยาเสพติดไปผลิตเพื่อจำหน่าย โดยพวกเขาได้ใช้สัญลักษณ์นี้บนตัวยาบ้าที่เขาผลิตขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ายาชนิดนี้ผู้ใดเป็นผู้ผลิต ส่วนความหมายนั้นจนปัจจุบันยังเป็นปริศนาอยู่ว่า WY หมายความว่าอะไร
[แก้] อ้างอิง
ความหมายของอักษร "WY" นั้นย่อมาจาก W หมายถึง ว้า หรือชนเผ่าว้าแดงชนเผ่าที่ผลิต Y หมายถึงสถานที่ที่ผลิต ในที่นี้คือ เมืองยอน เพราะฉนั้น คำว่า WY จึงย่อมาจากคำว่า " ว้า เมือง ยอน " นั้นเอง ยาบ้าหรือ Methamphetamine เป็นยาที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ในสหรัฐใช้ยาชนิดนี้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ป.ป.ส. ในปี 2539 พบว่า ในจำนวน 301 ตัวอย่าง ที่เก็บจากพื้นที่ 50 จังหวัดทั่วประเทศ จำแนกเป็นสีต่าง ๆ ได้ถึง 27 สี และมีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น 20 สัญลักษณ์ ซึ่งทั้งสีและสัญลักษณ์ เหล่านี้จะถูกใช้เป็นตัวโฆษณาถึงคุณภาพและราคาของยาบ้าซึ่งขณะนี้ เป็นความเชื่อของผู้เสพว่า ยาบ้าชนิดสีเขียวจะมีคุณภาพดี ที่สุดโดยตั้งชื่อต่าง ๆ เช่น เขียวมรกต", เขียวปากถุง", "ม้ามรกต" หรือ "มฤตยูสีเขียว" เป็นต้น และถ้าหากมีสัญลักษณ์ WY/- แล้วยิ่งมีคุณภาพดี แต่จากการตรวจหาสารประกอบของยาบ้าแต่ละชนิด มักไม่พบความแตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่ของยาบ้าใน ท้องตลาดมีส่วนประกอบของเมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์ ประมาณ 20-25 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 20-30 คาเฟอีนประมาณ 45-55 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 40-60 ที่เหลือเป็นแป้งและน้ำตาล ยาบ้าบางชนิดอาจจะมีอีฟีดีนผสมอยู่บ้าง โดยสารคาเฟอีนและอีฟีดีน ก็เป็นสารกระตุ้นประสาทจำพวกหนึ่ง แต่ออกฤทธิ์ไม่รุนแรงเท่าเมทแอมเฟตามีน ซึ่งถ้าชนิดใดมีเฉพาะสารคาเฟอีน หรือ อีฟีดีน โดยไม่มีสารเมทแอมเฟตามีนเราจะเรียกยาบ้าชนิดนั้นว่า "ยาบ้าปลอม





[ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติด]
http://www.nct.ago.go.th/images/bg.gif


ยาเสพติด สามารถแบ่งได้ ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้

ก. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ได้แก่
     1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา

     2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน
แอมเฟตามีน

ข. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้แก่

     ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน (Heroin) แอมเฟตามีน
(Amphetamine) เมทแอมเฟตามีน (Metham Phetamine) แอลเอสดี (LSD) เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) หรือ
MDAM

     ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (Opium) มอร์ฟีน (Morphine) โคเคนหรือโคคาอีนเมทาโดน (Methadone)

     ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนผสมอยู่

     ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อะเซติคแอนไฮโดรด์
(Aceticanhydride) อะเซติลคลอไรด์ (Acetycholride) เอทิลีดีนไดอาเซเตด (Ethy-lidinediacetate)
ไลเซอร์จิค อาซิค (Lysergic Acid)

     ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่ีมิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชกัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น
(ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น พืชเห็ดขี้ควาย)



ค. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่

     1. ยาเสพติดประเภทกดประสาืท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย

     2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาืท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน

     3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาืท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย

     4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน (กด กระตุ้น และหลอนประสาทร่วมกัน) เช่น กัญชา



ง. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก

     องค์การอนามัยโลกได้จัดแบ่งยาเสพติดออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่

     1. ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพธิดีน

     2. ประุเภทบาบิทูเรทรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีไฮด์
เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์

     3. ประเภทแอลกอฮอร์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้

     4. ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน

     5. ประเภทโคเคน เช่น โคเคน ใบโคคา

     6. ประเภทกัญชา เช่น ใบกัญชา ยางกัญชา

     7. ประเภทคัท เช่น ใบคัท ใบกระท่อม

     8. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ต้นลำโพง เห็นเมาบางชนิด

     9. ประเภทอื่นๆ เป็นพวกที่ไม่สามารถเข้าประเภทใดได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซิล น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่



 ชนิดของยาเสพติด

มอร์ฟีนกัญชาไดอาซีแพมฝิ่นยาอีเอทิลเฮโรอีนยาเคกระท่อมแอลเอสดีเห็ดขี้ควายยาบ้า

เฮโรอีน (Heroin) :
เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด เช่น อาเซ-
ติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) หรือ อาเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตท
(Ethylidinediacetate) เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ
30-90 เท่า โดยทั่วไปเฮโรอีนจะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่น และแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
เช่นเดียวกับมอร์ฟีน ได้แก่ เฮโรอีนเบส (Heroin base) ซึ่งมีคุณลักษณะเด่น คือ ไม่ละลายน้ำ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง
คือ เกลือของเฮโรอีน (Heroin salt) เช่น เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ (Heroin hydrochloride) เฮโรอีนที่แพร่ระบาด
่ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. เฮโรอีนผสม หรือเรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่น
เข้าไปด้วย เช่น ผสมสารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ กาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน
สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ด หรืออัดเป็นก้อนเล็ก ๆ มีวิธีการเสพโดยการสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย
จึงเรียกว่า "ไอระเหย" หรือ "แคป"

2. เฮโรอีนเบอร์ 4 เป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา
หรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาวหรือสีครีม ไม่มีกลิ่น มีรสขม เป็นที่รู้จัดทั่วไปว่า "ผงขาว"
มักเสพโดยนำมาละลายน้ำและฉีดเข้าร่างกาย หรือผสมบุหรี่สูบ

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
เฮโรอีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกายอย่างรุนแรง
มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว ปวดหัวรุนแรง มีอาการจุกแน่นในอก
คล้ายใจจะขาด อ่อนเพลียอย่างหนัก หมดเรี่ยวแรงมีอาการหนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัดทุรุนทุราย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
บางรายมีอาการชักตาตั้ง น้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหดเล็กลง ใจคอหงุดหงิดฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก ประสาทเสื่อม
ความจำเสื่อม ผู้เสพติดเฮโรอีนที่ติดเชื้อ HIV ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยาร่วมกันหรือ
ในบางครั้งก็มีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน โดยไม่ได้ป้องกัน

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ยาบ้า (Amphetamine) :
ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) ยาบ้า จัดอยู่
ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8
มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล
สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลืองและสีเขียว มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว,
รูปพระจันทร์เสี้ยว, 99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านหนึ่ง
หรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย
ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมด
ฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ
ิเป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบ
การหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้

โทษทางกฎหมาย :

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) :
ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี ลักษณะ
ของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน
เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.2 ซม. หนา 0.3-0.4 ซม. ผิวเรียบ และปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระต่าย,
ค้างคาว, นก, ดวงอาทิตย์, PT ฯลฯ เสพโดยการรับประทานเป็นเม็ด จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ยา
จะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8 ซม. แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน ออกฤทธิ์ใน 2 ลักษณะ คือ
ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทในระยะสั้น ๆ หลังจากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ฤทธิ์ของยาจะทำให้
ผู้เสพรู้สึกร้อน เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง การได้ยินเสียง และการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจาก
ความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ อันเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่พฤติกรรมเสื่อมเสียต่าง ๆ

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้น ๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยา
ทางร่างกาย เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ระบบประสาทการรับรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
(Psychedelic) ทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุม
อารมณ์ไม่ได้

โทษทางกฎหมาย :

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
แอลเอสดี (LSD : Lysergic acid diethylamide) :
แอลเอสดี เป็นสารสกัดจากกรดไลเซอจิกที่มีในเชื้อราชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นในข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผง ละลายน้ำได้
อาจพบแอลเอสดีเป็นเม็ดยา แคปซูล หรือผสมในทอฟฟี่ ที่พบว่าแพร่ระบาดมาก มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษชุบ
หรือเคลือบสารแอลเอสดี และปรุแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลักษณะเดียวกับแสตมป์ โดยบนแผ่นกระดาษที่เคลือบสาร
แอลเอสดีนั้น จะมีสัญลักษณ์หรือรูปภาพต่าง ๆ

วิธีการเสพ :

การเสพอาจทำได้หลายวิธี เช่น การฉีด หรือการนำกระดาษที่เคลือบแอลเอสดีอยู่มาเคี้ยว หรืออม หรือวางไว้บนลิ้น

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ไม่มีอาการเสพติดทางร่างกาย มีอาการเสพติดทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยา
ทางร่างกาย เคลิบเคลิ้ม ฝันเฟื่อง ความดันโลหิตสูง อุณหภูมิในร่างการสูง หายใจไม่สม่ำเสมอ ฤทธิ์ของยา
จะทำให้ผู้เสพเห็นภาพลวงตา หูแว่ว เพ้อฝัน คิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ หรือคิดว่าเหาะได้ อาจมีอาการทางจิตประสาท
อย่างรุนแรง มีอาการหวาดระแวง เกิดอาการกลัวภาพหลอน (Bad Trip) จึงต้องหนีจากความหวาดกลัว เช่น
การขับรถหนีหรือเหาะหนี หรือฆ่าตัวตายเพราะความหวาดกลัว

โทษทางกฎหมาย :

เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
โคเคน (Cocaine) :
โคเคน หรือ โคคาอีนเป็นยาเสพติด ที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ลักลอบปลูกมากในประเทศแถบ
อเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้น ในใบโคคาจะมีโคเคนอยู่ประมาณ 2% โคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่ม
ผู้เสพว่า COKE, Snow, Speed Ball, Crack

โคเคนที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่
1. โคเคนชนิดผง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น
2. โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack)

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

โคเคนออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ มีอาการทาง
จิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย ตัวร้อนมีไข้
นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า ผนังจมูกขาดเลือด ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อ ขาดหรือทะลุ สมองถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง
ทำให้เกิดอาการชักมีเลือดออกในสมอง เนื้อสมองตายเป็นบางส่วน หัวใจถูกกระตุ้นอยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลง
ทีละน้อยจนหัวใจบีบตัวไม่ไหวทำให้หัวใจล้มเหลว ผลจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการโรคจิตซึมเศร้า

โทษทางกฎหมาย :

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ฝิ่น (Opium) :
ฝิ่นเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน
เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษ
ที่ร้ายแรง และเป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่น
มากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"

ฤทธิ์ในทางเสพ :
ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย หากเสพเกินขนาด
จะทำให้กดระบบหายใจทำให้เสียชีวิต จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว
ชีพจรเต้นช้า

โทษทางกฎหมาย :

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
มอร์ฟีน (Morphine) :
มอร์ฟีนเป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ของฝิ่นที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นตัวการที่ออกฤทธิ์กดประสาท มอร์ฟีนเป็นผงสีขาว
หรือเทาเกือบขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์สูงกว่าฝิ่น เสพติดได้ง่าย มีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง และเป็นก้อน หรือละลาย
บรรจุหลอดสำหรับฉีด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีฉีดเป็นส่วนมาก มอร์ฟีนใช้เป็นยาหลักหรือยามาตรฐานของยาแก้ปวด
ยาจำพวกนี้กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้รู้สึกง่วงหลับไป และลดการทำงานของร่างกาย
อาการข้างเคียงอื่น ๆ ก็คือ อาจทำให้คลื่นเหียนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดงเพราะโลหิตฉีด ม่านตาดำ
หดตีบ และหายใจลำบาก

ฤทธิ์ทางเสพติด :

มอร์ฟีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย คลื่นเหียนอาเจียน
ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดง ซึม ง่วงนอน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ร่างการทรุดโทรม สมองมึนชา สติปัญญาเสื่อมโทรม

โทษทางกฎหมาย :

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
Codeine (Antitussive) :
ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาโคเดอีนเป็นสารประกอบจำพวกอัลคาลอยด์ที่มีอยู่ในฝิ่นประมาณร้อยละ 0.7-2.5
โดยน้ำหนัก  โคเดอีนที่ใช้ในทางการแพทย์ได้จากการสังเคราะห์จากมอร์ฟีนโคเดอีน ออกฤทธิ์กดระบบประสาท
ส่วนกลาง มีฤทธิ์ระงับปวดและระงับอาการไอ จึงนิยมใช้ผลิตยาแก้ไอ แต่ ยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่มีการนำไปใช้ในทาง
ที่ผิด และแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันได้แก่ยาแก้ไอผสมโคเดอีนชนิดน้ำ
กัญชา (Cannabis) :
กัญชา มีลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉกคล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยัก
อยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ
และยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่
สูบ ยังอาจพบในรูปของ น้ำมันกัญชา” (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลายๆ ครั้ง จึงได้เป็นนำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิต
ประสาทสูงถึง 20-60% หรืออาจพบในลักษณะของ ยางกัญชา” (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้จากใบและ
ยอดช่อดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสด และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประมาณ
4-8% กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้นประสาท
กดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้
้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ
THC ที่มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา สาร THC นี้ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้
ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ
เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิด
สับสน ควบคุมตนเองไม่ได้

ฤทธิ์ทางเสพติด:

อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลง ความคิดเลื่อนลอยสับสน ความคุมตัวเองไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจำเสื่อม
กล้ามเนื้อลีบ หัวใจเต้นเร็ว หูแว่ว หลายคนคิดว่าการเสพกัญชานั้น ไม่มีโทษภัยร้ายแรงมากนัก แต่จากการศึกษา
วิจัย พบว่า กัญชาเป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพมากเกินกว่าที่คาดคิด เช่น ทำลาย
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายสมอง ปอด

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
กระท่อม (Kratom) :
กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นเนื้อไม้แข็ง
ใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือ
ก้านเขียวและก้านแดง

ฤทธิ์ในทางเสพ :

ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติด
ทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้
ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก แต่จะรู้สึกหนาวสั่น เมื่อมีอากาศชื้น หรือเมื่อฝนฟ้า
คะนอง ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน

โทษทางกฎหมาย :

กระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
เห็ดขี้ควาย (Magic Mushroom) :
เห็ดขี้ควายเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีด คล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่ม
จะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำบริเวณก้าน (Stalk) บริเวณใกล้ตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออก
รอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวน

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

ในเห็ดขี้ควายมีสารออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงคือ ไซโลซีน และ ไซโลไซบีน ผสมอยู่ ซึ่งออกฤทธิ์
หลอนประสาท เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้มีอาการเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่งในที่สุด หากบริโภคเข้าไปมากๆ
หรือผู้ที่บริโภคเข้าไปมีภูมิต้านทานน้อย อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

โทษทางกฎหมาย :

เห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
จี เอช บี (GHB) :
GHB หรือ Gamma-hydrocybutyrate จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 1
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518

ฤทธิ์ทางเสพติด
:
การออกฤทธิ์ของ GHB จะกดประสาทในระยะแรก คือลดอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับ และทำให้สลบ
(ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ใช้) ถ้าใช้ในปริมาณมากหรือใช้ร่วมกับยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ชนิดอื่นๆ อาจทำให้
้เสียชีวิตได้

โทษทางกฎหมาย :

จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. 2518

ยาเค (ketamine) :
ยาเค มาจากคำว่า เคตามีน (ketamine) หรือชื่อทางการค้าว่า  เคตาวา (Ketava) หรือเคตาลา (Ketalar)
หรือคาสิบโชล  ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ใน
ประเภท หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วย เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหา เพราะวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมา โดยนำมาทำให้เป็นผง
ด้วยกรรมวิธีผ่านความร้อน จากนั้นจึงนำมาสูดดมเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่ามีการนำยาเค มาใช้
้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น ยาอี และโคเคน ยาเค เป็นยาที่ออกฤทธิ์หลอนประสานอย่างรุนแรง เมื่อเสพ
เข้าไปจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม (Euphoria) รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ (Mystical) มีอาการสูญเสียกระบวนการ
ทางความคิด ความคิดสับสน การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียงจะเปลี่ยนแปลงไป
ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้ปริมาณมากจะเกิดการติดขัดในการหายใจ (Respiratory
depression) อาการที่ไม่พึ่งประสงค์เหล่านั้น (Bad Trip) จะปรากฏให้เห็นคล้ายกับอาการทางจิต
ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะปรากฏอาการเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ เรียกว่า Flashback ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว
จะทำให้ผู้เสพประสพกับสภาวะโรคจิต และกลายเป็นคนวิกลจริตได้

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

ยาเคออกฤทธิ์หลอนประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการเคลิบเคลิ้ม มึนงง ความคิดสับสน ตาลาย หูแว่ว การรับรู้และ
การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน ผลต่ออารมณ์
มีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มึนงง หรือที่เรียกว่าอาการ "Dissociation" ผลต่อการรับรู้จะเปลี่ยนแปลง การรับรู้
ู้ทั้งหมดในขณะเสพ ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียง ผลต่อร่างกายและระบบประสาท
เมื่อใช้ยาเคในปริมาณมาก ๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการติดขัดในการหายใจเท่านั้น ยังทำให้เกิดอาการ
ทางจิต ประสาทหลอน หูแว่ว กลายเป็นคนวิกลจริตได้
เพนโตบาร์บิตาล :
เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 มีลักษณะเป็นเม็ดยา ส่วนใหญ่พบในรูปของเม็ดแคปซูล ออกฤทธิ์กล่อมประสาท
แต่แรงกว่า (ลักษณะเหมือนยานอนหลับ) เมื่อใช้จะทำให้รู้สึกคลายความวิตกกังวล รักษาอาการฟุ้งซ่านที่เกิด
จากโรคประสาท  ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และระงับอาการชัก ถ้าใช้ประจำจะมีอาการติดยาเกิดขึ้น และถ้าขาดยา
จะเกิดอาการถอนยา คือมีอาการกระวนกระวาย เกร็ง อาจชักได้

โทษทางกฎหมาย

จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
ไดอาซีแพม (Diazepam) :
ไดอาซีแพม เป็นชื่อสามัญทางยาของวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดหนึ่งในกลุ่มเบนโซไดอะซีปินส์
ไดอาซีแพมที่มีใช้ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบทางเภสัชกรรมต่างๆ ได้แก่ ยาเม็ด แคปซูล และยาฉีด
ขนาดความแรงมีตั้งแต่ 2 มิลลิกรัม 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม

โทษทางกฎหมาย
:
ไดอาซีแพมจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518
สารระเหย (Inhalant) :
สารระเหย คือ สารที่ได้จากขบวนการสกัดน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอ ระเหยได้ในอากาศ ประกอบด้วย
Toluene, Acetone, Butane, Benzen, Trichloroe Thylene ซึ่งพบในกาว แลคเกอร์ ทินเนอร์
น้ำมันเบนซิน ยาล้างเล็บ เมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

สารระเหยออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ มีอาการ
ขาดยาแต่ไม่รุนแรง ผู้เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม ศีรษะเบาหวิว ตื่นเต้น พูดจาอ้อแอ้ พูดไม่ชัด น้ำลายไหลออก
มามาก เนื่องจากสารที่สูดดมเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในจมูกและปาก การสูดดมลึก ๆ หรือ
ซ้ำ ๆ กัน แม้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทำให้ขาดสติหรือเป็นลมชัก กล้ามเนื้อทำงาน
ไม่ประสานกัน ระบบประสาทอัตโนมัติ (Reflexes) ถูกกด มีเลือดออกทางจมูก หายใจไม่สะดวก

โทษทางกฎหมาย :

สารระเหยจัดเป็นสารเสพติดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533
เอทิล อีเทอร์ (Ethyl Ether) :
ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน แสบจมูก และมีกลิ่นฉุน   ไอของสารอีเทอร์หนักกว่า
อากาศ ไม่ละลายน้ำ เมื่อหยดลงในน้ำจะแยกชั้นลอยอยู่บนผิวน้ำ ใช้เป็นตัวทำละลายในกระบวนการลักลอบผลิต
เฮโรอีน และโคเคน โดยเปลี่ยนจากรูปของเบสเป็นเกลือไฮโดรคลอไรด์

ฤทธิ์ทางเสพติด :

ไอของสารอาจทำให้เกิดอาการเซื่องซึม มึนงง เกิดความสับสน เป็นลม และในปริมาณมากๆ จะทำให้หมดสติได้
ถ้าสูดดมเข้าไปอย่างต่อเนื่องในปริมาณน้อยอาจทำให้ไม่อยากอาหาร เวียนศรีษะ หมดเรี่ยวแรง และเกิดอาการ
คลื่นไส้ ถ้าสูดดมเข้าไป หรือกลืนกินเข้าไปบ่อยๆ อาจทำให้เสพติด และมีอาการเสพติดเรื้อรังได้ ถ้าสัมผัสเข้ากับ
ตัวออกซิไดซ์อาจทำให้เกิดการลุกไหม้ทันทีขึ้นได้ ไอของสารเมื่อผสมหรือรวมตัวกับออกซิเจน ไนตรัสออกไซด์
(nitrous oxide) หรืออากาศ อาจเกิดระเบิดได้
กรดแอซิติก (Acetic acid) :
(ซึ่งมีความบริสุทธิ์ไม่เกินร้อยละ 90) เป็นวัตถุอันตราย มีสถานะเป็นของเหลว มีกลิ่นฉุน (หากมีปริมาณความ
บริสุทธิ์ตั้งแต่ร้อยละ 90 จัดเป็นโภคภัณฑ์ควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495)
อันตรายต่อสุขภาพ :
เมื่อหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดอาการไอและหายใจติดขัด การสัมผัส
ทางผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงบวมของผิวหนังและปอด การกลืนหรือ
กินเข้าไปจะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง และอาเจียน การสัมผัสถูกตาอาจจะก่อให้เกิดอาการตาแดงและปวดตาได้




















ยาเสพติดและอาชญากรรมความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน
                                                                                               
                                                                                                            สุมนทิพย์  ใจเหล็ก

            ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยมาเป็นเวลานาน   โดยมีผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดเป็นจำนวนมาก แม้รัฐบาลจะมีการประกาศสงครามกับยาเสพติดอย่างจริงจังในปี 2545   แต่ปัญหายาเสพติดหาได้หมดไปจากประเทศไทยอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จาก สถิติของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดที่ถูกจับกุมในเรือนจำ และทัณฑสถานทั่วประเทศระหว่างปี 2538-2546 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  (ดังแสดงในตารางที่ 1)

ตารางที่ 1
ตารางแสดงจำนวนผู้กระทำผิดเกี่ยวกับ พ...ยาเสพติด ระหว่างพ..2538-2546

..
จำนวนผู้กระทำผิด (คน)
2538
24,743
2539
25,211
2540
27,751
2541
15,948
2542
55,254
2543
75,358
2544
94,248
2545
102,236
2546
107,344
ที่มา : กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดผลกระทบนานับประการต่อสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าจำนวนมาก   เนื่องจากการตกเป็นทาสยาเสพติด ที่ทำให้ผู้เสพมีสุขภาพเสื่อมโทรมไม่สามารถเป็นปัจจัยการผลิตและทรัพยากรที่สำคัญให้แก่ประเทศ ตลอดจนการสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลในการบำบัด  แก้ไขฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดและการป้องกันการปราบปรามปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยตรง โดยผู้ติดยาเสพติดซึ่งได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ของยาเสพติดไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีการทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังปรากฏให้เห็นเป็นข่าวอยู่เสมอ รวมทั้งผู้เสพยาเสพติดบางส่วนที่ไม่มีเงินในการซื้อยาเสพติดมาเสพอาจประกอบอาชญากรรม อาทิ การฉก ชิง วิ่งราวทรัพย์ ตลอดจนการปล้นจี้ เพื่อให้ได้เงินมาในการซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ และการฆ่าหักหลังในขบวนการค้ายาเสพติด เป็นต้น
โดยเฉพาะในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาอาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง       ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้มีความสลับซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ดังจะเห็นได้จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาส่งผลให้อาชญากรรมจำนวนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีผู้ประกอบอาชญากรรมและถูกควบคุมตัวที่เรือนจำทั่วประเทศตั้งแต่ พ..2538– 2546 จำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  (ดังแสดงในตารางที่ 2)   

ตารางที่ 2

ตารางแสดงจำนวนผู้กระทำผิดที่ถูกควบคุมตัวที่เรือนจำทั่วประเทศตั้งแต่ พ..2538– 2546


..
จำนวนผู้กระทำผิด(คน)
2538
72,913
2539
64,898
2540
69,660
2541
84,879
2542
111,348
2543
123,505
2544
151,054
2545
155,270
2546
159,225
ที่มา : กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

            ปัญหาสำคัญที่ควรตระหนัก คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนอาชญากรรมที่นอกเหนือจากคดียาเสพติดมีความสัมพันธ์กับยาเสพติดหรือไม่  เนื่องจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดนอกจากเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมาย การละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมืองโดยตรงแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดกับการประกอบอาชญากรรม เป็นเรื่องที่คนโดยทั่วไปมักมีความเชื่อว่าการเสพยาเสพติดนำไปสู่การประกอบอาชญากรรม  โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่าผู้ติดยาเสพติดจะประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์เพื่อนำเงินไปซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ หรือการเสพยาเสพติดแล้วทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ทำให้เกิดการคลุ้มคลั่งทำร้ายผู้อื่น


ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอข่าวอาชญากรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดปรากฎให้เห็นเสมอ    อาทิ

- ตร. หิ้วโจรงัดเซฟทำแผน  เจ้าตัวเชื่อเวรกรรมตามทัน


“...เซียนพนันงัดตู้เซฟเศรษฐีกวาดทรัพย์  70 ล้าน เปิดปากสารภาพสิ้น ...ผู้ต้องหาลักทรัพย์โดยเจาะเซฟ  เท่าที่จำได้ก่อเหตุมาหลายท้องที่ประมาณ 30 ครั้ง ได้ทรัพย์สินไปจำหน่ายร่วม  30 ล้านบาท
...ส่วนสาเหตุที่ทำเพราะต้องการเงินไปเล่นการพนัน เสพยาบ้า ... ” (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ , 30 สิงหาคม 2547)


                        - หนุ่มเพี้ยนอาการกำเริบฆ่าแม่เข็นทิ้งวัด อีกรายพี้กัญชาได้ที่ฟันพ่อดับเตรียมฝัง

“...ตำรวจ สภอ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้รับแจ้งพบศพคนตายกำลังจะถูกฝังดิน ...อายุประมาณ 70 ปี สภาพศพไม่สวมใส่เสื้อผ้า ถูกฟันด้วยขวานที่กกหูขวา กะโหลกแตก หน้าท้องมีบาดแผลถูกฟันเป็นแผลฉกรรจ์
โดยมี...บุตรชายผู้เสียชีวิตนั่งเหม่อลอยอยู่ จึงคุมตัวไว้ สอบสวนทราบว่าชอบเสพกัญชาอยู่เป็นประจำ อาจเกิดอาการหลอนและลงมือก่อเหตุดังกล่าว... ”  (หนังสือพิมพ์มติชน , 6 สิงหาคม 2547)

                        - วัยรุ่น แก๊งสปาร์ตา อำนาจเจริญ ควงมีด ซิ่งจยย.ไล่ล่าอริ เสียหลักตกคลอง

“...กลุ่มวัยรุ่นจำนวนมากขับขี่รถจักรยานยนต์ใช้มีดสปาร์ตาเป็นอาวุธ       ไล่ล่ากันในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ ...รถเสียหลักพุ่งลงคลองระบายน้ำ ศรีษะกระแทกกับพนังกั้นคลองคอหัก

            สำหรับวัยรุ่นกลุ่มนี้จะตั้งตัวเป็นเจ้าพ่อเมืองอำนาจเจริญ      ตั้งชื่อแก๊งว่า     แก๊งสปาร์ตา   นัดรวมตัวกันสูดดมสารระเหย ดื่มสุรา ก่อเรื่องไล่ฟันชาวบ้านเป็นประจำ...(หนังสือพิมพ์มติชน , 6 สิงหาคม 2547)


                        - ...ลูกชั่วข่มขืนแม่

“...เมื่อผู้เป็นแม่เดินทางไปนอนที่บ้านลูกชายคนเล็กในหมู่บ้านเดียวกัน คืนนั้นมีฝนตกหนักจนรุ่งสาง ก่อนฟ้าสว่างลูกชายคนเล็กก็หอบเครื่องมือออกไปหาจับกบที่ทุ่งนา แล้วมีลูกชายคนโตมาที่บ้านถามหาแบตเตอรี่ว่าจะเอาไปส่องกบ ... ลูกชายคนโตเมื่อเห็นปลอดคนจึงบุกเข้าไปในบ้าน แล้วเข้าไปในบ้านข่มขืนแม่ตนเองจนสำเร็จความใคร่ก่อนจะหลบหนีไป...
...นอกจากนี้ นาย...ยังมีประวัติติดยาเสพติดประเภทสารระเหยอีกด้วย ... (หนังสือพิมพ์ข่าวสด, 3 สิงหาคม 2547)

            ความสัมพันธ์ของยาเสพติดและอาชญากรรมแม้จะปรากฏให้เห็นดังปรากฎในข่าวเสมอ และคนทั่วไปในสังคมมักเห็นว่ายาเสพติดเป็นสาเหตุนำไปสู่การประกอบอาชญากรรมดังกล่าวข้างต้น  แต่ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่า การประกอบอาชญากรรมมีสาเหตุมาจากยาเสพติดโดยตรงหรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โดยยาเสพติดเป็นเพียงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการประกอบอาชญากรรมเท่านั้น

            สำหรับความสัมพันธ์ของยาเสพติดกับอาชญากรรม นักอาชญาวิทยาได้ให้ความสนใจมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในระยะแรกการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่สนใจเท่าใดนัก แต่ภายหลังนับจากที่ Lawrence Kolb (1925) พบว่าผู้ติดยาเสพติดที่ประกอบอาชญากรรมนั้น ประกอบอาชญากรรมมาก่อนที่จะติดยาเสพติด และยาเสพติดไม่ได้นำไปสู่การประกอบอาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรง ทำให้มีการศึกษาวิจัยเสริมต่ออีกมากมาย โดยการวิจัยดังกล่าวเป็นการโต้แย้งในประเด็นต่าง ๆ หลายประเด็น  แต่การวิจัยทั้งหมดก็มุ่งที่จะหาคำตอบในเรื่องเดียวกัน คือ ความสัมพันธ์ของยาเสพติดกับอาชญากรรม (นัทธี จิตสว่าง, 2531)






โดยเฉพาะ P.J.Goldstein (1985)  ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของยาเสพติดกับการประกอบอาชญากรรม 3 รูปแบบ  ได้แก่

1.           ความสัมพันธ์ของยาเสพติดที่มีผลต่อสภาพจิตใจและการประกอบอาชญากรรม

( Psychopharmacological link )

                การเสพยาเสพติดเป็นสาเหตุในการประกอบอาชญากรรม เนื่องจากการเสพยาเสพติดมีผลต่อสภาพจิตใจของผู้เสพ ทำให้เกิดการทำลายระบบความจำ     การควบคุมตัวเอง       รวมทั้งเป็นสาเหตุของจิตบกพร่องที่เกิดความหวาดระแวงว่าคนจะมาทำร้าย โดยยาเสพติดได้ทำลายระบบการรับรู้หรือความอดทนอดกลั้นต่อความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด                       จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้กระทำผิดหลายคนประกอบอาชญากรรมเนื่องจากฤทธิ์ของยาเสพติด      โดยยาเสพบางประเภทก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะยาเสพติดประเภทเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ , PC P ( phen–cyclidine ), โคเคน , ยาบ้า  และยากดประสาทประเภทยานอนหลับ ( barbiturate )  เป็นต้น

                        ในขณะที่ยาเสพติดประเภทเฮโรฮีนและกัญชา กลับมีผลต่อการใช้ความรุนแรงน้อยกว่ายาเสพติดประเภทอื่น ๆ ดังจะเห็นๆได้จากตารางสรุปความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดและการใช้ความรุนแรง (ตารางที่ 3)













                                               
ตารางที่ 3
ตารางสรุปความสัมพันธ์ระหว่างประเภทยาเสพติดและผลต่อการใช้ความรุนแรง


         ประเภทยาเสพติด


ผลต่อการใช้ความรุนแรง


   โคเคน


คุณสมบัติหลักคือ การกระตุ้นสมองส่วนกลาง เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะจิตบกพร่อง      หวาดระแวงว่าจะมีคนทำร้ายหรือฆ่า    ในบางครั้งเมื่อยาหมดฤทธิ์ อาจทำให้เกิดความโกรธง่ายเมื่อได้รับการกระตุ้นและมีความวิตกกังวล

     
   PCP
( phen – cyclidine )

มีคุณสมบัติหลายประการ อาทิ เป็นยาหลอนประสาท ยาบรรเทาปวด  และทำให้เกิดการชาเพื่อบรรเทาปวด
มีคุณสมบัติหลักเช่นเดียวกับ โคเคน คือ การกระตุ้นสมองส่วนกลาง
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีการศึกษาที่เด่นชัด เกี่ยวกับสารเสพติดประเภทนี้     แต่ PCP เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์เป็นอันดับสองรองจากเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในการก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรง

   ยาบ้า
คุณสมบัติหลักคือการกระตุ้นสมองส่วนกลาง ก่อให้เกิดภาวะจิตบกพร่อง มีความหวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำร้าย มีความวิตกกังวล และ เกิดความผิดปกติของจิต

   กัญชา

 ลดความต้องการใช้ความรุนแรง ทำให้เคริ้มอกเคริ้มใจ

     

อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาจำนวนไม่มากนักที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ

คุณสมบัติของยาเสพติดที่มีผลต่อระบบจิตประสาทและการประกอบอาชญากรรม  กล่าวคือ

 

            การศึกษาของ O.Fedorowycz (1997) ที่ได้แสดงให้เห็นว่าผู้กระทำผิดในคดีฆาตรกรรมในประเทศแคนาดา ร้อยละ 50 ได้เสพเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดก่อนที่จะประกอบอาชญากรรม
นอกจากนี้  จากการสำรวจข้อมูลจากผู้ต้องขังใหม่ที่เพิ่งถูกควบคุมตัวในสถานควบคุมในประเทศแคนาดาในปี 1999  ปรากฏว่าผู้ต้องขังใหม่ประมาณ ร้อยละ 50.6 ได้มีการเสพยาเสพติด และ/หรือเครื่องดื่มที่ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในวันที่กระทำผิดและถูกจับกุม โดยร้อยละ 16 ได้เสพยาเสพติดเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ร้อยละ 13 ได้เสพทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และยาเสพติด
สำหรับประเภทของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องมีความแตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม กล่าวคือ อาชญากรรมประเภทฆาตรกรรม การทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ จะมีความสัมพันธ์กับผู้เสพเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์         ในขณะที่อาชญากรรมประเภทเกี่ยวกับทรัพย์   อาทิ การลักขโมย การงัดแงะอาคารบ้านเรือน จะมีความสัมพันธ์กับผู้เสพยาเสพติดเป็นสำคัญ

เช่นเดียวกับข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการเสพเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และยาเสพติดกับอาชญากรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา  ในปี 1991 ปรากฎว่า
จากการสำรวจข้อมูลผู้ต้องขังจำนวน 14,000  คน ที่ถูกควบคุมในแต่ละมลรัฐ และผู้ต้องขังจำนวน 6,000 คน ที่ถูกควบคุมในรัฐบาลกลาง ปรากฏว่า ผู้ต้องขังจำนวนร้อยละ 49 ในแต่ละมลรัฐ และร้อยละ 24 ในรัฐบาลกลาง ได้มีการเสพเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และยาเสพติดในขณะที่กระทำผิด 
โดยผู้ต้องขังในแต่ละมลรัฐ ร้อยละ 32 ยอมรับว่าขณะกระทำผิดตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์   ในขณะที่ร้อยละ 31    ยอมรับว่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของยาเสพติด และร้อยละ 14 ยืนยันว่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเครื่องดื่มที่ส่วนผสมของแอลกอฮอล์และยาเสพติดในขณะที่กระทำผิด

นอกจากนี้  ข้อมูลจากฝ่ายสถิติของกรมราชทัณฑ์ ประเทศแคนาดาในปี 1991 ได้แสดงให้เห็นว่า อาชญากรรมในคดีที่มีการใช้ความรุนแรงมักเกิดจากผู้กระทำผิดที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และยาเสพติด มากกว่าผู้กระทำผิดที่ได้รับอิทธิพลจากยาเสพติดเพียงอย่างเดียว


            และจากผลการศึกษาของ     P.J. Goldstein(1998)       โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการฆาตรกรรมกับยาเสพติด ปรากฎว่ามีเหยื่ออาชญากรรมที่ถูกฆาตรกรรมเสียชีวิตจำนวนไม่มากนักที่เกิดจากผู้กระทำผิดอยู่ภายใต้อิทธิพลของยาเสพติด  ในขณะที่การฆาตรกรรมส่วนใหญ่ผู้กระทำผิดมักตกอยู่ภายใต้อิทธิพลเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
รวมทั้งจากผลการศึกษาการฆาตรกรรม จำนวน  218 คดี ในนิวยอร์ค ในปี 1998 โดยมีสมมติฐานว่า การฆาตรกรรมดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับยาเสพติด ผลการศึกษาปรากฎว่า การฆาตรกรรม ร้อยละ14 มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลของยาเสพติดที่กระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรง ในขณะที่การฆาตรกรรมร้อยละ 74  มีความสัมพันธ์กับการฆาตรกรรมในตลาดมืดของการค้ายาเสพติดและการลำเลียงยาเสพติด

จากผลการศึกษาของ S.Brochu  (1999)  เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของผลกระทบของยาเสพติดที่มีต่อสภาพจิตใจและพฤติกรรมอาชญากร  ปรากฏว่า
                        - ผู้ต้องขังร้อยละ 28  เคยกระทำผิดในทุกประเภทคดีหรืออย่างน้อยหนึ่งคดี โดยได้รับอิทธิพลมาจากการเสพยาเสพติด
                                - ผู้ต้องขังร้อยละ 44 ของผู้ต้องขังที่เคยมีประวัติเสพยาเสพติด เชื่อว่าการเสพยาเสพติดมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการประกอบอาชญากรรม ในขณะที่ร้อยละ 51 เห็นว่ายาเสพติดไม่มีส่วนหรือกระตุ้นให้เกิดการประกอบอาชญากรรม และร้อยละ 5 เห็นว่าการเสพยาเสพติดทำให้ความสามารถในการประกอบอาชญากรรมลดลง
            นอกจากนี้ผู้ต้องขังประมาณร้อยละ 80 ที่ถูกจับกุมในวันที่เสพยาเสพติดและกระทำผิด เห็นว่า การเสพยาเสพติดทำให้สามารถประกอบอาชญากรรมได้ง่ายขึ้น และผู้ต้องขังในกลุ่มนี้ร้อยละ 83.1 เห็นว่าการเสพยาเสพติดทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 33.6 เห็นว่าทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทมากขึ้น และร้อยละ 37 เห็นว่าการเสพยาเสพติเด ทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวและชอบใช้ความรุนแรงมากขึ้น

สำหรับข้อมูลของความสัมพันธ์ระหว่างฤทธิ์ของยาเสพติดที่มีต่อสภาพจิตใจ และการประกอบอาชญากรรมในประเทศไทย จะเห็นได้จากข้อมูลจากสื่อมวลชนที่มีการนำเสนอ เกี่ยวกับผู้เสพยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้า แล้วมีอาการคลุ้มคลั่งทำร้ายผู้อื่นผ่านทางสื่ออยู่เสมอ

นอกจากนี้ จากผลการศึกษาของนัทธี จิตสว่างและคณะ(2544)  เรื่องเส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังในคดียาเสพติดได้แสดงให้เห็นถึง เส้นทางชีวิตของผู้เสพซึ่งมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน และ ได้รับผลกระทบจากการเสพยาเสพติด ดังนี้
ผู้เสพยาบ้ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.8    เมื่อเสพยาบ้าเข้าไปแล้วมักจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนบางอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมสติสัมปชัญญะ กล่าวคือ เมื่อเสพยาบ้าระยะเวลามากกว่า 3 ปีโดยเป็นผู้ติดลึก บางครั้งจะไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะได้ อาทิ เห็นคนมาทำร้ายทำให้ใช้มีดหรือปืนในการตอบโต้ผู้ที่เห็นว่าจะเข้ามาทำร้าย
ดังเช่นผู้เสพกลุ่มตัวอย่างรายหนึ่ง
 เมื่อเสพยาบ้าแล้วจะมีอาการประสาทหลอน เห็นพ่อแม่เข้ามาทำร้าย จึงใช้มีดอีโต้ไล่ฟันพ่อแม่
        
โดยผู้เสพยาบ้ากลุ่มตัวอย่างที่เสพยาบ้าในปริมาณมากหรือเสพมาเป็นระยะเวลานาน (ผู้ติดลึก) จะมีอาการประสาทหลอนเกิดขึ้น อันส่งต่อการทำร้ายร่างกาย หรือ การฆ่าผู้อื่น เพราะไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะได้
ในขณะที่ผู้เสพเฮโรอีนกลุ่มตัวอย่าง จะไม่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในลักษณะดังกล่าวข้างต้น หากแต่จะมีการก่ออาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดในการเสพเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งราวทรัพย์ การชิงทรัพย์ การลักทรัพย์ และ การปล้นทรัพย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสพยาบ้าหรือเฮโรอีน ร้อยละ 97.0 เห็นว่า ผู้เสพยาเสพติดที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ยา โดยเฉพาะผู้เสพยาบ้าที่มีการคลุ้มคลั่งจับบุคคลเป็นตัวประกันหรือฆ่าบุคคลที่ใกล้ชิด อาทิ พ่อแม่ ลูกเมีย มีเป็นจำนวนน้อยเท่านั้น โดยผู้เสพกลุ่มดังกล่าวให้ความเห็นว่า
สื่อมวลชนนำเสนอข่าวที่รุนแรงเกินความเป็นจริง ผู้ที่เสพยาเสพติดแล้วมีอาการดังกล่าว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น พวกที่ก่อเหตุมักจะเป็นผู้ที่ไม่รู้จักรักตัวเอง จึงเสพยาเสพติดในปริมาณมากเกินไป แต่หากเสพในปริมาณเหมาะสมก็จะไม่ทำให้มีลักษณะพฤติกรรมดังที่สื่อมวลชนเสนอข่าว

            แม้ผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเสพยาเสพติดและการประกอบอาชญากรรม โดยเฉพาะการเสพยาเสพติดในวันที่ผู้กระทำผิดได้ประกอบอาชญากรรม แต่ข้อมูลดังกล่าวอาจไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่า ยาเสพติดมีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชญากรรมอย่างแท้จริง
                เพราะไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมอาชญากรรมจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากผู้กระทำผิดไม่ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของยาเสพติด แม้ว่าผู้กระทำผิดส่วนใหญ่จะเห็นว่าการเสพยาเสพติดมีส่วนให้เกิดอาชญากรรม โดยผู้กระทำผิดบางส่วนได้ใช้ยาเสพติดเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาชญากรรม   แต่ผู้เสพยาเสพติดจำนวนมากอาจไม่ได้ประกอบอาชญากรรม 

ดังจะเห็นได้จาก  ยาเสพติดประเภทกัญชาซึ่งเป็นยาเสพติดที่มีคนเสพมาที่สุดในโลก   โดยองค์การสหประชาชาติ ( UNDCP ) ได้รายงานจำนวนผู้เสพกัญชาไว้ในช่วงปี 1990-2000  จำนวน 144.1 ล้านคน จากจำนวนผู้เสพยาเสพติดทั่วโลกประมาณ 180  ล้านคน

D. Reilly and P. Didcott (1998)   ได้ศึกษาผู้ติดลึกกัญชาในประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นกลุ่มผู้ที่เสพกัญชาโดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 20 ปี ผลการศึกษาปรากฏว่า ผู้เสพกัญชาส่วนใหญ่เสพเพื่อเป็นการสังสรรค์ การรวมกลุ่มทางสังคม เสพเพื่อบรรเทาความตึงเครียดเป็นการผ่อนคลาย รวมทั้งการเสพเพื่อความสนุกสนานทำให้มีความรู้สึกสดชื่นและอารมณ์ดี แม้จะทราบว่าการเสพกัญชาเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและอาจได้รับผลกระทบจากสังคมในการตีตราว่าเป็นผู้กระทำผิด แต่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่าการเสพกัญชาให้ประโยชน์มากกว่าโทษที่ได้รับ
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเมื่อมีการเสพกัญชาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยปกติ  อาทิ      การขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ตลอดจนยานพาหนะอื่น ๆ  หรือ การทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลภายหลังจากเสพกัญชาทันที
            สำหรับการกระทำผิดกฎหมาย ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เคยถูกจับกุมในสถานภาพผู้ครอบครองกัญชา   ( ร้อยละ26 )        การปลูกกัญชา ( ร้อยละ11 )  การจำหน่าย  ( ร้อยละ 6  )  และอาชญากรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ( ร้อยละ 12 )
                จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง ผู้ติดลึกในยาเสพติดประเภทกัญชา ซึ่งโดยเฉลี่ยมีระยะเวลาในการเสพประมาณ 20 ปีโดยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดประเภทอื่น ไม่ได้ประกอบอาชญากรรมในปริมาณที่มากหรืออาชญากรรมอุกฉกรรจ์แต่อย่างใด

นอกจากนี้  ผู้กระทำผิดบางส่วนอาจใช้ยาเสพติดเป็นเพียงข้อแก้ตัวแทนการรับผิดชอบต่อความผิดที่ได้กระทำ  ดังเช่นผลการศึกษาทัศนคติของประชาชนในแคนาดาในปี 1998 ต่อการที่ผู้กระทำผิดอ้างว่ากระทำผิดเนื่องจากการใช้ยาเสพติดของA.paglia and R.Room (1998)  ปรากฎว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 ในเห็นว่าการให้เหตุผลว่าดื่มสุราในวันที่ประกอบอาชญากรรมของผู้กระทำผิด     สามารถใช้เป็นข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวของการผู้กระทำผิดได้อย่างดี

                และ S.Brochu (1995) ได้กล่าวว่า ในขณะที่ผลกระทบของการเสพยาเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป แต่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฤทธิ์ของยาเสพติดที่กระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรงหรือการประกอบอาชญากรรมอาจยังมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากความสลับซับซ้อนของตัวแปรจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของการเสพยาเสพติดและการประกอบอาชญากรรม  อันได้แก่
-     ประเภทของยาเสพติดที่ผู้เสพใช้  โดยเฉพาะหากมีการใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ประเภท  ยาเสพติดประเภทใดที่มีผลต่อการใช้ความรุนแรงหรือการประกอบอาชญากรรม
            -  วิธีการเสพยาเสพติดที่แตกต่างกันมีผลต่อการใช้ความรุนแรงหรือการประกอบอาชญา-กรรมต่างกันหรือไม่
            -    ปริมาณยาเสพติดที่ผู้เสพใช้เสพ ปริมาณเท่าใดที่มีผลกระทบต่อการใช้ความรุนแรงหรือการประกอบอาชญากรรม รวมทั้งยาเสพติดจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใดต่อผู้เสพย่อมขึ้นอยู่กับน้ำหนัก , ความสูง , เพศ , และบุคลิคลักษณะของผู้เสพหรือไม่
            -     อารมณ์และ สุขภาพของผู้เสพตลอดจนความคาดหวังต่อการใช้ยามีผลต่อการประกอบอาชญากรรมหรือไม่

- สภาพแวดล้อมทางสังคม  เช่น สภาพแวดล้อมในชุมชน และ การคบเพื่อน ซึ่งมีส่วนกระตุ้นใหเกิดการใช้ความรุนแรงและการประกอบอาชญากรรมหรือไม่

ดังนั้น การอธิบายความสัมพันธ์ของยาเสพติดกับอาชญากรรม    โดยใช้รูปแบบความสัมพันธ์ของยาเสพติดที่มีผลต่อสภาพจิตใจและการประกอบอาชญากรรม (Psychopharmacological link )  อาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างแท้จริงว่า เหตุใดผู้เสพยาเสพติดส่วนใหญ่จึงไม่ประกอบอาชญากรรมที่มีความรุนแรง

หรืออาจกล่าวได้ว่า เหตุผลของการประกอบอาชญากรรม อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของยาเสพติด แต่เพียงประการเดียว


2.           ความสัมพันธ์ระหว่างการบีบบังคับทางเศรษฐกิจ ( The  Economic – compulsive link )

            สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดและการประกอบอาชญากรรมอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การที่ผู้เสพยาเสพติดประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ โดยเชื่อว่า ความต้องการยาเสพติดเพื่อเสพตลอดจนราคายาเสพติดที่มีราคาแพง ในขณะที่ผู้เสพประสบปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่บีบบังคับให้ผู้เสพยาเสพติดต้องประกอบอาชญากรรม
            ดังจะเห็นได้จาก ผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวนมากที่ถูกจับในข้อหาลักขโมย และได้ให้เหตุผลว่ากระทำความผิดเพื่อต้องการให้ได้เงินมาเสพยาเสพติด ซึ่งอาจเนื่องมาจาก   ยาเสพติดที่มีราคาแพง รวมทั้งการถูกตีตราจากสังคมทำให้ไม่สามารถหาเงินโดยสุจริตมาซื้อยาเสพติดได้
           
สำหรับผลการศึกษาที่ยืนยันแนวความคิดนี้  ได้แก่

รายงานจากตำรวจในมลรัฐ บริติชโคลัมเบียประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1994 ได้เปิดเผยว่า ผู้เสพยาเสพติดเป็นเวลานานประเภทติดลึก ได้ประกอบอาชญากรรมเพื่อนำเงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ โดยตำรวจได้ประมาณว่า อาชญากรรมประมาณร้อยละ 60 ที่เกิดขึ้น ได้มีแรงดึงดูดใจมาจากการเสพยาเสพติด

            นอกจากนี้ จากการรายงานอาชญากรรมของตำรวจในเมืองโตรอนโตประเทศแคนาดาในปี 1995 ปรากฏว่าอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น การลักขโมย การงัดแงะอาคารบ้านเรือน และการต้มตุ๋นหลอกลวง รวมทั้งโสเภณี ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่กระทำผิดเนื่องจากต้องการให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ

รวมทั้งผลการศึกษาของ C.Forget (1990) ซึ่งได้ศึกษาผู้ต้องขังในประเทศแคนาดา ก็มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนแนวความคิดนี้  โดยผู้ต้องขังจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งถูกควบคุมตัวในสถานกักขัง Montreal ( Montreal Detention Center ) ได้ให้เหตุผลของการประกอบอาชญากรรมว่า เพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ

            และผลการศึกษาของ  S.Brochu (1999)  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 2 ใน 3 ของ      ผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ใช้ยาเสพติดในวันที่ประกอบอาชญากรรม ได้ให้เหตุผลว่า ประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติด โดยประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับการลักขโมย ( มากกว่าร้อยละ 83 ) , ปล้นจี้ ( ร้อยละ 78 ) , ต้มตุ๋นหลอกลวง ( ร้อยละ 70 ) และการงัดแงะอาคารบ้านเรือน ( ร้อยละ 68 )
นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวได้ยืนยันให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาเสพติดที่มีราคาแพงและการประกอบอาชญากรรม โดยผู้เสพยาเสพติดประเภทโคเคนซึ่งเป็นยาเสพติดที่มีราคาแพงประมาณร้อยละ 68 ยอมรับว่าประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาเสพยาเสพติด

                อย่างไรก็ตาม สำหรับยาเสพติดที่มีราคาแพง เช่น เฮโรอีนและโคเคน การใช้จ่ายเงินในการเสพของผู้เสพในประเทศแคนาดาอาจแตกต่างกันไป แต่สามารถสรุปได้ว่า ผู้เสพยาเสพติดดังกล่าวมีรายได้หลักจาก 3 ด้าน คือ จากระบบประกันสังคม , การประกอบอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด

            จากผลการศึกษาประชาชนในเมือง  Quobec ประเทศแคนาดาในปี 1990 แสดงให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายของผู้เสพโคเคนทุกวัน มีจำนวนเฉลี่ยประมาณปีละ 43,000 เหรียญ  ส่วนผู้เสพเฮโรอีนในเมืองโตรอนโต(Toronto) มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,313 เหรียญ สำหรับการเสพเฮโรอีน ใน 30 วัน  ผู้เสพส่วนใหญ่ร้อยละ 89 ซึ่งถูกจับกุม  ได้ยอมรับว่าก่อนหน้านี้เคยถูกจับกุมในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเสพยาเสพติด และการประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้ยาเสพติดหรือได้เงินมาซื้อยาเสพติด

นอกจากนี้ จากการศึกษาผู้กระทำผิดในประเทศอังกฤษ ของ Trevor Bennett (2000) ปรากฎว่าผู้กระทำผิดที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่ร้อยละ 70 กระทำผิดเนื่องจากต้องการเงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ

                ส่วนผลการศึกษาผู้กระทำผิดในกรุงอัมสเตอร์ดัม  ประเทศเนเธอร์แลนด์ ของ M.Grapendaal, E.Leuw and H.Nelen (1995) พบว่าผู้เสพเฮโรอีนบางส่วนประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ ซึ่งรายได้ดังกล่าวเป็นเพียง 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมด โดยผู้กระทำผิดมีรายได้หลักส่วนใหญ่จากระบบประกันสังคมเช่นเดียวกับผู้เสพยาเสพติดในกรุงโตรอนโตประเทศแคนาดา

            อย่างไรก็ตาม ความถี่หรือปริมาณอาชญากรรมที่เกิดขึ้นยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการเสพยาเสพติดเป็นสำคัญ กล่าวคือ ในระยะเวลาที่ผู้เสพยาเสพติดมีความต้องการยาเสพติดมากการประกอบอาชญากรรมก็จะมีปริมาณมากตามไปด้วย โดยผลการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา , อังกฤษ และ ออสเตรเลีย ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสพยาเสพติดที่มากและปริมาณอาชญากรรมที่สูงตามไปด้วย

ตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาจาก New – ADAM ( New English  and Welsh Arresstee Drug Abuse Monitoring ) (2,000) ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้กระทำผิดที่มีการจ่ายเงินประมาณ 100 ปอนด์หรือมากกว่านี้ต่อการเสพยาเสพติด จะมีการกระทำผิดมากกว่าผู้กระทำผิดไม่ได้ใช้จ่ายเงินในการเสพยาเสพติดประมาณ  10 เท่า

            เมื่อจำแนกผู้เสพยาเสพติดตามปริมาณการเสพยาต่อการประกอบอาชญากรรม ปรากฏว่า
                - ผู้เสพยาเสพติดเป็นครั้งคราว โดยส่วนใหญ่ไม่ต้องการพัฒนาเป็นผู้ติดลึกและไม่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เกิดจากการเสพยาเสพติด ดังนั้นการประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาเสพยาเสพติดจึงมีไม่มากนักเนื่องจากผู้เสพใช้เงินส่วนตัวในการซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ  อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนก่อนเสพยาเสพติด จะมีการประกอบอาชญากรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตนรวมทั้งเพื่อต้องการเพิ่มรสชาติความแปลกใหม่ให้กับชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดและอาชญากรรมในกลุ่มนี้จะพบมากในกลุ่มวัยรุ่นเป็นสำคัญ
         -  สำหรับผู้ติดยาเสพติดประเภทผู้ติดลึกแม้จะมีการประกอบอาชญากรรมมากขึ้น แต่ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือปัจจัยต่าง ๆ  อาทิ ประเภทยาเสพติดที่ใช้ สภาพแวดล้อม เพื่อน วิถีชีวิต ปัจจัยกระตุ้น สภาพเศรษฐกิจ และ สังคม  เป็นต้น 

ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ของ M.Grapendaal, E.Leuw and H.Nelen (1995) ที่พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ถูกจับกุมร้อยละ 24 ประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ       ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 21 ไม่ได้ประกอบอาชญากรรมเนื่องจากรายได้สำคัญมาจากระบบประกันสังคม
               
จึงอาจกล่าวได้ว่า การประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาเสพยาเสพติดจึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือเป็นเส้นทางเดียวที่ผู้เสพยาเสพติดจะเลือกกระทำ เพราะมีผู้เสพยาเสพติดอีกจำนวนมากที่แม้จะมีการเสพยาเสพติดที่มีราคาแพงแต่ก็ไม่ได้ประกอบอาชญากรรม เพราะมีการทำงานโดยสุจริตเพื่อเพิ่มรายได้ อาทิ การทำงานล่วงเวลา การทำงานหนัก การยืมเงินจากเพื่อน หรือ ครอบครัว รวมทั้งการลดรายจ่ายลง

และจากผลการศึกษาของ S.Brochu (1995)  ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ติดยาเสพติดจำนวนมากพยายามที่จะหยุดเสพยาเสพติดหรือเสพยาเสพติดในปริมาณที่ไม่มากแทนการประกอบอาชญากรรม ในขณะที่มีเพียงส่วนน้อยที่หันไปสู่การประกอบอาชญากรรม อาทิ การเป็นโสเภณี และการเป็นผู้ค้ายาเสพติด เป็นต้น
สำหรับข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการบีบบังคับทางเศรษฐกิจ ( The  Economic – compulsive link ) และการประกอบอาชญากรรมในประเทศไทย มีผลการศึกษาปรากฏไม่มากนัก กล่าวคือ

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของการติดยาเสพติดกับการก่ออาชญากรรมของชวลิต ยอดมณีและคณะ (2536) ปรากฏว่า ยาเสพติดมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาชญากรรม โดยมีค่าความสัมพันธ์ (Cramer’s v) เท่ากับ 0.68  ซึ่งแสดงว่าหากจำนวนผู้ติดยาเสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้ปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้นด้วย โดยผู้ต้องหาส่วนใหญ่จะกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเท่านั้น รองลงมาคือต้องการเงินเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด หรือใช้จ่ายอื่น ๆ โดยผู้ต้องหาที่ติดยาเสพติดส่วนใหญ่ติดยาเสพติดก่อนก่อคดีครั้งแรก


ตาม ผู้กระต  

            นอกจากนี้ จากผลการศึกษาเรื่อง เส้นทางชีวิตผู้ต้องขังในคดียาเสพติดของนัทธี จิตสว่าง และ คณะ (2544) ปรากฏว่าทั้งผู้เสพยาบ้าและ เฮโรอีนกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ37.0  ได้เงินจากการประกอบอาชญากรรม โดยบางคนขโมยเงินจากที่บ้านหรือจากพ่อแม่ของตน  การวิ่งราวทรัพย์  การลักทรัพย์ และการปล้นทรัพย์


ตัวอย่างเช่น  ผู้เสพกลุ่มตัวอย่างรายหนึ่ง
ได้หาเงินมาใช้ในการเสพยาเสพติดโดยการปล้นทรัพย์          ซึ่งมีพฤติกรรมเริ่มจากการขโมย ลักทรัพย์ในหมู่บ้านต่าง ๆ ในขณะที่เจ้าทรัพย์ไม่อยู่บ้าน แต่หากมีเจ้าทรัพย์อยู่ที่บ้านจะใช้วิธีการปล้น คือ การใช้ปืนขู่บังคับให้นำทรัพย์สินมีค่ามาให้ หากเจ้าของบ้านต่อสู้จะมีการทำร้ายร่างกาย โดยผู้เสพรายนี้เคยร่วมกันฆ่าเจ้าของทรัพย์และหนีรอดไปได้          ซึ่งมักจะกระทำผิดกับเพื่อนเป็นกลุ่มประมาณ 6 – 10 คน
            และผู้เสพกลุ่มตัวอย่างรายหนึ่ง มีวิธีการในการหาเงินมาเสพยาเสพติด
โดยการขโมยหมวกกันน็อค ตามสถานที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้จอดรถจักรยานยนต์จำนวนมาก อาทิ บริเวณสนามบินดอนเมือง โรงเรียนต่าง ๆ โดยแต่ละวันสามารถขโมยหมวกกันน็อคได้ ไม่ต่ำกว่า 20 ใบ บางวันสามารถขโมยได้จำนวนถึง 100 ใบ โดยนำไปจำหน่ายในราคาตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป จึงสามารถนำเงินมาเสพยาเสพติดได้โดยไม่เคยถูกจับกุมแม้แต่ครั้งเดียว 
รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ     33.0       ได้เงินมาซื้อยาเสพติดจากการเป็นผู้ค้ารายย่อยและการรับจ้างเดินยอด คือ ตนเองไม่ได้เป็นผู้ขายเองแต่จะเป็นผู้ที่ไปซื้อยามาให้แล้วให้คนใกล้ชิดเช่นเพื่อนเป็นคนขาย โดยได้รับค่าจ้างเป็นยาเสพติดแทนตัวเงินหรืออาจได้รับค่าจ้างเป็นค่าตอบแทน อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึง     ผู้เสพบางส่วนได้หาเงินด้วยวิธีการสุจริต      อาทิ            การขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง

         ประเภทของอาชญากรมที่กระทำโดยผู้เสพยาเสพติด

มีผลการศึกษาจำนวนมากของต่างประเทศที่แสดงให้เห็นว่า      อาชญากรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดยทั่วไปเป็นอาชญากรรมที่ให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดและเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีความรุนแรง แม้ว่าจะมีการประกอบอาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรงแต่อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก หากแต่มักจะเป็นข่าวมากกว่าอาชญากรรมที่ไม่มีความรุนแรง สำหรับสาเหตุของการใช้ความรุนแรงมักขึ้นกับสถานการณ์ เช่น การไม่ให้ความยินยอมของเหยื่อเมื่อมีการประทุษร้ายต่อทรัพย์  การใช้ความรุนแรงจึงอาจขาดเจตนาหรือไม่ได้มีการเตรียมการณ์ล่วงหน้าดังเช่นอาชญากรรมประเภทอื่น ๆ
                สำหรับอาชญากรรมที่ผู้ติดยาเสพประเภทติดลึกและไม่มีเงินในการซื้อยาประกอบอาชญากรรม   ได้แก่  การเป็นผู้ลำเลียงยาเสพติด โสเภณี การลักขโมยทรัพย์สิน การงัดแงะอาคารบ้านเรือน และการต้มตุ๋นหลอกลวง โดยส่วนใหญ่เป็นอาชญากรรมที่ไม่ได้อาศัยความชำนาญพิเศษแต่อย่างใด และมีโอกาสเสี่ยงน้อยต่อการถูกจับดำเนินคดี
            อาชญากรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จึงมักเป็นการลักขโมยภายในอาคารบ้านเรือน  ที่ทำงาน หรือในร้านค้า ซึ่งเป็นเพียงการโจรกรรมทรัพย์สินที่มีมูลค่าไม่มากนัก   เช่น    จักรยาน   หรือ      ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รวมทั้งการเป็นผู้ค้ารายย่อยเพื่อแลกกับยาเสพติดหรือเงิน ในขณะที่ผู้หญิงมักจะมีการค้าประเวณีเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติด

            แนวคิดของความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องประกอบอาชญากรรม เพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติด อาจมีการโต้แย้งในประเด็นที่ว่า อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดประเภทติดลึกอาจเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับความต้องการเงินมาซื้อยาเสพติด และผู้ติดยาเสพติดจำนวนมากอาจประกอบอาชญากรรมมาก่อนที่จะเสพยาเสพติด เมื่อเสพยาเสพติดแล้วยังคงประกอบอาชญากรรมต่อไป รวมทั้งมีผู้เสพยาเสพติดจำนวนมากที่ไม่ได้ประกอบอาชญากรรม

3.           ความสัมพันธ์ของเครือข่ายหรือขบวนการค้ายาเสพติด ( The systemic link )

            ยาเสพติดและอาชญากรรมมีความสัมพันธ์กัน        เนื่องจากสาเหตุของเครือข่ายขบวนการค้ายาเสพติดในตลาดค้ายาเสพติดที่การใช้ความรุนแรงในการประกอบธุรกิจ ไม่มีกฎหมายที่ให้การคุ้มครอง รวมทั้งการแข่งขันระหว่างผู้ค้ายาเสพติด  ปัญหาเรื่องหนี้สินและการปกป้องผลประโยชน์ที่ผิดกฎหมาย ในขบวนการค้ายาเสพติด

            จากข้อมูลรายงานในปี 1997  ของตำรวจในประเทศแคนาดา พบว่าผู้ค้ายาเสพติดที่ถูกจับกุมได้ร้อยละ 56     ยอมรับว่าเคยใช้ความรุนแรงในการประกอบอาชญากรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เนื่องจากการแย่งส่วนแบ่งการตลาดและการตัดราคา  นอกจากนี้คดีที่เกี่ยวกับฆาตกรรมทั้งหมดปรากกฎว่าเป็นคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดร้อยละ 12  โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดการประกาศสงครามกับยาเสพติดในปี 1998 ปรากฏว่าคดีอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีคดีฆาตกรรม 103 คดี พยายามฆ่า 129 คดี การฆ่าผิดคน 9 คดี การก่อคดีวางระเบิด  84 คดี และลอบวางเพลิง 130 คดี รวมมีคดีอาชญาอุจฉกรรจ์ที่เกิดขึ้น 450 คดี

และจากคดีฆาตกรรมในมลรัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาปี 1980    พบว่าการฆาตกรรมจำนวนร้อยละ 74  เกิดจากการค้ายาเสพติดหรือมีความเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด

สำหรับข้อมูลของประเทศไทย แม้จะมีผลการศึกษาในประเด็นนี้ค่อนข้างน้อย     อย่างไรก็ตาม  เมื่อรัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติดในพ..2545 มีจำนวนผู้ค้ายาเสพติดที่ถูกฆาตกรรมจำนวนมาก ดังปรากฏในการนำเสนอของสื่อมวลชนซึ่งมีผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวนกว่า 2,000 รายที่ถูกฆาตรกรรม  

                รวมทั้งจากผลการศึกษา เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังในคดียาเสพติด ของ นัทธี จิตสว่างและ คณะ(2544) ปรากฏว่าปัญหาและอุปสรรคในการค้ายาเสพติดของกลุ่มผู้ค้ารายย่อยที่อาจนำไปสู่การประกอบอาชญากรรม ได้แก่ ปัญหาการถูกหักหลังจากเพื่อน ลูกน้อง และผู้ร่วมขบวนการค้ายาเสพติด รวมทั้งปัญหาการแย่งลูกค้ากันโดยการตัดราคาเพื่อให้ยาเสพติดราคาต่ำสุด
ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในการค้ายาเสพติดของกลุ่มผู้ค้ารายใหญ่ที่อาจนำไปสู่การประกอบอาชญากรรมที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการหักหลังกันในขบวนการค้ายาเสพติด
โดยมีกลุ่มตัวอย่างรายหนึ่งยอมรับว่าถูกจับกุมเพราะลูกน้องหักหลัง จึงตอบแทนลูกน้องที่หักหลังด้วยการแลกด้วยชีวิต

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายหรือขบวนการค้ายาเสพติด ( The systemic link )   และการประกอบอาชญากรรม   มีเหยื่ออาชญากรรมจำนวนน้อยมากที่เข้าแจ้งความกับตำรวจ ทำให้ขาดข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับอาชญากรรมประเภทนี้และไม่สามารถที่จะประเมินความแตกต่างของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากแนวคิดนี้และอาชญากรรมโดยทั่วไป

         นอกจากแนวความคิดทั้ง 3 รูปแบบ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดกับอาชญากรรมโดยตรงดังกล่าวข้างต้น การเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอาจก่อให้เกิดอาชญากรรมทางอ้อมได้ โดยทั้งผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติดอาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข  อาทิ การเล่นการพนัน เนื่องจากผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติดบางส่วนอาจหาเงินมาง่าย รวมทั้งมีพฤติกรรมที่ชอบเล่นการพนันมาก่อนเข้าสู่ขบวนการค้ายาเสพติด  โดยเฉพาะผู้ค้ายารายใหญ่ ซึ่งเล่นการพนันนอกเหนือจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีการเล่นการพนันเพื่อเป็นการสังสรรค์ระหว่างกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดด้วยกัน        ซึ่งการเล่นการพนันเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง     รวมทั้งเป็นอบายมุขที่อาจเป็นลูกโซ่ของอาชญากรรมอื่น ๆ นั่นเอง  รวมทั้งผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่บางรายเมื่อได้รับค่าตอบแทนจากการค้ายาเสพติดในปริมาณที่สูง อาจทำตัวเป็นเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจเหนือคนอื่น รวมทั้งการก่อคดีทะเลาะวิวาทหากเกิดกรณีขัดแย้งกับกลุ่มบุคคลอื่น ๆ







สรุป  ความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดและอาชญากรรมอาจอธิบายได้ถึงความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อน 3 รูปแบบด้วยกัน คือ

         1.  ความสัมพันธ์ของฤทธิ์ยาเสพติดที่มีต่อสภาพจิตใจและอาชญากรรม
              ( The psychopharmacological link )

                        อาชญากรรมเกิดขึ้นเนื่องจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่มีการกระตุ้นให้ผู้เสพมีการใช้ความรุนแรงและไม่สามารถควบคุมการกระทำของตัวเองได้
                                อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าอาชญากรรมจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากผู้กระทำผิดไม่ได้เสพยาเสพติด รวมทั้งอาจเป็นข้ออ้างการขาดความรับผิดชอบของผู้กระทำผิด โดยอาชญากรรมน่าจะเป็นผลมาจากปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากยาเสพติด   อาทิ บุคลิกลักษณะของผู้ใช้ยาเสพติด สภาพแวดล้อมทางสังคม การคบเพื่อน เป็นต้น เพราะมีผู้เสพยาเสพติดเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ประกอบอาชญากรรม
         2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบีบบังคับทางเศรษฐกิจ และ อาชญากรรม
              ( The Economic – Complusive link )
                        อาชญากรรมเกิดขึ้นเนื่องจากผู้เสพยาเสพติดไม่มีเงินจึงหันไปประกอบอาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ แต่ในทางตรงกันข้ามมีผู้กระทำผิดเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ประกอบอาชญากรรม โดยมีการทำงานสุจริต รวมทั้งการพยายามลดปริมาณยาที่เสพลงมากกว่าการหันไปประกอบอาชญากรรม และผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมาก่อนที่จะเสพยาเสพติด
3.           ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ของขบวนการค้ายาเสพติด และ อาชญากรรม
( The systemic link)
                                อาชญากรรมเกิดขึ้นเนื่องจากขบวนการค้ายาเสพติดที่มีการใช้ความรุนแรงในการประกอบธุรกิจ โดยมีการแข่งขัน แย่งลูกค้าและส่วนแบ่งการตลาด ปัญหาเรื่องหนี้สินและผลประโยชน์ทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การขาดข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชญากรรมประเภทนี้อย่างแท้จริงเนื่องจากเป็นขบวนการและการกระทำที่ผิดกฎหมายจึงมีเหยื่ออาชญากรรมจำนวนน้อยมากที่เข้าแจ้งความ ทำให้ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างอาชญากรรมประเภทนี้และอาชญากรรรมทั่วไปได้อย่างชัดเจน
               
                รวมทั้งความสัมพันธ์ทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติดมีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม เนื่องจากการหาเงินมาได้ง่ายจึงยุ่งเกี่ยวกับการพนัน และการทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลก่อคดีทะเลาะวิวาท เป็นต้น
น็นต้น็


        

อย่างไรก็ตาม      แม้ผลการศึกษาจำนวนมากของต่างประเทศจะชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของยาเสพติดกับอาชญากรรมในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น หากแต่ในสังคมไทยยังมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวค่อนข้างน้อย จึงน่าจะได้มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวในประเทศไทย เนื่องจากปัญหายาเสพติดนับเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญและก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในประเด็นของยาเสพติดประเภทต่าง ๆ ที่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างจากต่างประเทศ  มีฤทธิ์ยาแตกต่างกัน ตลอดจนมีสภาพเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน

รวมทั้งหากยาเสพติดและอาชญากรรมมีความสัมพันธ์กัน จะมีความสัมพันธ์กันในคดีอาชญากรรมประเภทใดมากกว่ากันและในผู้กระทำผิดประเภทใด
                คำถามเหล่านี้ นับเป็นคำถามที่ท้าทายต่อการศึกษาหาคำตอบ ที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายทางสังคม รวมทั้งการแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมในสังคมไทยต่อไป...

............................................




พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
            
 
                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIFกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
                 http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF(๑) เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "หน่วยการใช้" "ติดยาเสพติดให้โทษ" "การบำบัดรักษา" "ข้อความ" และ "โฆษณา" แก้ไขบทนิยามคำว่า
"สถานพยาบาล"และ "เภสัชกร" (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔)


                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF (๒) กำหนดให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองได้ (แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๘(๕) และเพิ่มมาตรา ๒๖/๑) และกำหนดให้อาจอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเฉพาะยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เกินปริมาณที่
กำหนดเป็นกรณีพิเศษได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๖๐)

                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIFกำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้อง
(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๓(๗) )

                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF(๔) กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑
และประเภท ๒ ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และกำหนดบทสันนิษฐานเด็ดขาดใน
ข้อหาผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖

                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF ๕) แก้ไขลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ตามกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับยาเสพติดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๙(๓) )

                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF (๖) จัดให้มีมาตรการควบคุมการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ (แก้ไขเพิ่มมาตรา ๒๐)

                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF(๗) กำหนดให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ต้องรับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ ์หรือประเมิน เอกสารทางวิชาการ (เพิ่มวรรคสามของมาตรา ๔๓)
                 http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF (๘) กำหนดให้มีการโฆษณาสรรพคุณยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ต่อผู้ประกอบวิชาชีพได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๘) ปรับปรุงมาตรการการควบคุมการโฆษณาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การบำบัดรักษา สถานพยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล (เพิ่มมาตรา ๔๘/๑ และมาตรา ๔๘/๒) และกำหนดให้ผู้ได้รับคำสั่งของผู้อนุญาตเกี่ยวกับการโฆษณาตามมาตรา ๔๘/๒ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษได้ (เพิ่มหมวด ๑๑/๑ การอุทธรณ์ มาตรา ๖๔/๑ และมาตรา ๖๔/๒

                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF(๙) กำหนดเหตุให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๙)

                 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF  (๑๐) กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจ หรือทดสอบ ว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควร เชื่อได้ว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพ ยาเสพติดให้โทษ (เพิ่มมาตรา ๕๘/๑)

             
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF (๑๑) ปรับปรุงบทกำหนดโทษ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตามความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิด (แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษในหมวด ๑๒)
                  http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF (๑๒) กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือผู้เสพและจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษจำนวนเล็กน้อยที่
สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาและได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้พ้นจากความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙๔)

              
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF (๑๓) กำหนดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับเป็นหลักในความผิดที่มีโทษจำคุกและปรับ (เพิ่มมาตรา ๑๐๐/๑)

              
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF ( ๑๔) กำหนดให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำหากผู้กระทำความผิดให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ
ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน (เพิ่มมาตรา ๑๐๐/๒)

              
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health02/11/image/TBALL.GIF (๑๕) ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ